อย่าปล่อยให้ความผิดหวังท้อแท้...

มาคอยกัดกร่อนทำลายความสุขในชีวิต...

หาหนทางเรียกกำลังใจกลับมาอีกครั้ง...

ถ้ากำลังมีความรู้สึกท้อแท้เบื่อหน่ายชีวิต

หรือหมดกำลังใจสาเหตุมาจากความล้มเหลว

ถูกตำหนิติเตียน...หรือเกิดปัญหาต่าง ๆ...

พยายามปลอบใจตนเอง ระบายความอัดอั้นตันใจออกมา...

หากสามารถทำได้ก็สามารถเอาชนะใจตนเองได้ระดับหนึ่ง

แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อย...

ก็ทำให้สามารถเรียกกำลังใจกลับมาได้อีกครั้ง...

จากนั้นมองย้อนไปที่ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น...

วิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุอันใด...

พร้อมกับระมัดระวังหรือแก้ไขมิให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอีก...

ผู้ที่เคยล้มเหลวแล้วลุกขึ้นมาต่อสู้อีกครั้ง...

จะเป็นผู้ที่มีความรอบคอบขึ้น...แข็งแกร่งขึ้น...

และมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหามากขึ้น...

เพราะครั้งหนึ่งเคยเอาชนะมรสุมร้ายในชีวิตมาแล้ว...

ความผิดพลาดในอดีตเป็นครูที่ดีที่จะสอนให้ระมัดระวัง...

และมองโลกได้อย่างเข้าใจยิ่งขึ้น...

ในการแพ้นั้น...บางคนแพ้เพราะฝีมือไม่ถึง...

บางคนแพ้เพราะประมาท...

แต่มีหลายคนที่แพ้...เพราะใจของตนเอง...


ขอบคุณที่มา:ธรรมะกับชีวิต/สีสรรสาระ

พฤติกรรมของคนดี (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


ลักษณะของบัณฑิต
๑ พูดแต่ในสิ่งที่ดี
๒ คิดแต่ในสิ่งที่ดี
๓ ทำแต่สิ่งที่ดีเสมอไป


พฤติกรรมของบัณฑิต

๑. ชอบทำแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์
๒. ชอบชักชวนคนอื่นในทางดี
๓. ชอบเสนอแนะสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับคนอื่น ๆ
๔. มีความรับผิดชอบในหน้าที่อย่างดีที่สุด
๕. มีศีลธรรมประจำใจ
๖. น้อมรับคำตักเตือน ไม่ดื้อ ไม่โกรธ เมื่อมีคนมาสอน
๗. อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่มีความลำพอง ถือตัวถือตน เย่อหยิ่ง
๘. ไม่ปกปิดความผิดของตัวเอง
๙. บอกกล่าวความดีของคนอื่นให้คนอื่น ๆ ได้รู้กัน
แหล่งที่มาจาก : พลังจิตดอทคอม 



คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับความโลภ
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับการหาเงิน
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับความแค้น
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับความริษยา
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับความหลังอันหดหู่
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับความรัก
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับกามารมณ์
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับการทำธุรกิจ
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับการบ้าอำนาจ
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับเกียรติยศ
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับอุดมการณ์
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับสุรายาเสพติด
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร

คนบางคน ใช้เวลาทั้งชีวิตให้หมดไปกับอบายมุข
โดยลืมไปว่า ตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร
มีคนไม่กี่คน !
ที่ตระหนักรู้ว่า แท้ที่จริงนั้นเรามีเวลาอยู่ในโลกเพียงน้อยนิด, เราเกิดมาทำไม, และเราจะใช้ชีวิตอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงเวลาอันแสนสั้นนั้น ?
โดย........ว.วชิรเมธี
๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑

ขอบคุณป้าแก้ว(ทำดีดอทเน็ต)


ยึดหลักธรรมะ ช่วยทำงานอย่างมี "ความสุข"

ใครว่าธรรมะเป็นเรื่องของพระอย่างเดียว ผู้หญิง ผู้ชาย คนแก่ เด็กไม่ว่าจะเป็นวัยไหน ธรรมะสามารถเกี่ยวข้องได้ทุกคนอยู่แล้ว โดยเฉพาะในวัยทำงานที่มักมีเรื่องให้ปวดหัวทั้งเรื่องงาน เรื่องเจ้านาย ส่งผลให้สุขภาพจิตเสื่อมโทรม การทำงานไม่มีประสิทธิภาพได้ สถาบันดี เอ็มจี อคาเดมี จึงจัดเสวนาเรื่อง "ธรรมะกับการบริหารงานสมัยใหม่" ที่อาคารอัมรินทร์พลาซ่า
งานนี้มีหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยทำงานมาร่วมฟังเสวนาคับคั่ง เพราะงานนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นวิทยากร
ดร.สุเมธบอกว่า หลายคนมองว่าธรรมะเป็นเรื่องเก่า ไม่เหมาะกับคนสมัยใหม่ ซึ่งในความจริงแล้วไม่ว่าจะถูก ผิด ดี เลว เป็นเรื่องธรรมชาติ ดังนั้น ธรรมะคือธรรมชาติอย่าไปเบื่อหน่าย
"มนุษย์ถูกกำหนดเป็นเครื่องมือสร้างความร่ำรวย กำไรมากกว่าทำงานแบบพี่น้อง ครอบครัว ใครเหยียบใครได้เหยียบเพื่อไต่เต้าให้ได้ดี เห็นตัวเลขการลงทุนมากกว่ามิตรภาพ โลกถูกครอบงำด้วยระบบทุนนิยม บริโภคนิยม มีกิเลสตัญหา ดังนั้นมนุษย์ควรใส่ใจมนุษย์ด้วยกัน อย่าเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่สร้างสรรค์ และไม่ทำลายผู้อื่น"
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บอกอีกว่า การนำธรรมะเข้ามาช่วยในการบริหารงานจะช่วยในมนุษย์มีความสุขได้ อย่างการยึดหลักทศพิธราชธรรมเป็นคุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน คนทำงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ ไม่ว่าจะเป็นการสละสิ่งเล็กๆเพื่อสิ่งที่ใหญ่กว่า อย่าคิดแต่ผลกำไร ควรดูแลลูกน้องด้วย รวมทั้งการซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกง เอาชนะความเกียจคร้านให้ได้ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น
"นอกจากนี้การรู้จักประมาณตน ก่อนทำอะไรคิดเสียก่อนลงมือทำ ดูความสามารถของตัวเอง เมื่อล้มจะได้ไม่รู้สึกเจ็บ และอย่าดูแค่ธุรกิจ ใส่ใจลูกน้อง เพื่อนร่วมงานด้วยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ที่สำคัญหากยึดทางสายกลางจะช่วยให้การปฏิบัติงานดีขึ้นอีกด้วย และอย่าลืมความพอเพียง ถ้าอยากซื้อของแพงก็สามารถทำได้ แต่อย่าให้เดือดร้อนตัวเองและผู้อื่น ต้องมีเหลือไว้กินไว้ใช้ จะทำให้รวยและยั่งยืนได้"
ดร.สุเมธยังบอกอีกว่า ธรรมะไม่ต้องสอนให้ซึ้งถึงหลักธรรมแค่รู้จัก "พอ" และ "ดี" ถ้าคิดได้จะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จและยั่งยืน การบริหารงานนอกจากเก่งต้องเป็นคนดีด้วย และรู้จักให้โดยที่ไม่หวังผลตอบแทนกลับมา การทำงานจะมีความสุข หากทุกคนรู้จักนำธรรมะมาปรับใช้

ธรรมะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ หากรู้จักนำมาปรับใช้กับชีวิตให้ถูกกับตัวเอง!!


ธาตุแท้ของสิ่งต่าง ๆ

ลองสังเกตธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา..
แล้วเราจะพบว่า..
ในธรรมชาติเหล่านั้น..
ได้แฝงปรัชญาข้อคิดในการดำเนินชีวิตของเราได้เป็นอย่างดี..

น้ำใส..กลายเป็นน้ำขุ่น..
เพราะมีวัตถุอื่นมากระทบ..ก่อกวน..ฉันใด

เปรียบเหมือน..จิตใจของคนเรา..ที่ขุ่นมัว..เศร้าหมอง..
ก็เพราะมีกิเลสมาก่อกวน..หมักหมม..ฉันนั้น

ธาตุแท้ของน้ำ คือ..ความใสสะอาด..
แต่ธาตุแท้ในจิตใจของคน คือ..ความสงบ..

ธาตุแท้ของแฟ๊บ,สบู่ คือ..ชำระความสกปรกภายนอกร่างกาย
แต่ธาตุแท้ของธรรมะ คือ..เพิ่มความสะอาดภายในจิตใจ

ธาตุแท้ของไฟ คือ..เผาไหม้เชื้อเพลิง
ธาตุแท้ของไฟกิเลส คือ..เผาไหม้จิตใจ..
แต่ธาตุแท้ของธรรมะ คือ..ดับกิเลสความเร่าร้อนในจิตใจ..

ธาตุแท้ของลม คือ..พัดพายุนำความเสียหายมาให้..
แต่ธาตุแท้ของธรรมะ คือ..พัดความชุ่มเย็นเข้ามาในชีวิต..

ธาตุแท้ของดิน คือ..ความคงทนไม่หวั่นไหว..
แต่ธาตุแท้ของจิตใจ คือ..ความไม่หวั่นไหวและมั่นคง..

ธาตุแท้ของความจน คือ.. มีไม่พอ
ธาตุแท้ของความรวย คือ..พอไม่มี
แต่ธาตุแท้ของธรรมะ คือ..พอมี พอเป็น พออยู่ พอได้ และพอเพียง

ธาตุแท้ของความทุกข์ คือ.. ทุกข์มันมาก..สุขจึงน้อย..
ธาตุแท้ของความสุข คือ..ทุกข์มันน้อย..สุขจึงมาก..
แต่ธาตุแท้ของธรรมะ คือ..สุขไม่มี ทุกข์ไม่มี ปล่อยวาง..ว่างเปล่า..เบาสบาย

ดังนั้น..
ธาตุแท้ในจิตใจ..ของเรา..ก็เหมือนกัน..จะใสสะอาด..
เบาสบาย..ไม่เป็นทุกข์ได้..
ก็เพราะมีธรรมะชำระล้างจิตใจ..



ที่มา ThummaOnline



"ปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต"
"ปัญหา"เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็อยากเลี่ยงหลีก แต่ไม่มีใครที่หนีมันพ้นได้ เพราะปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ในเมื่อเราไม่มีวันหนีปัญหาพ้น จะไม่ดีกว่าหรือหากเราเตรียมใจให้พร้อมเพื่อต้อนรับมันอยู่เสมอ

การมองว่า "ปัญหา"เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่ไม่มีใครหนีพ้น เช่นเดียวกับ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราเผชิญกับปัญหาได้โดยไม่ทุกข์มากนัก แต่วิธีที่ดีกว่านั้นก็คือการเปลี่ยน "ปัญหา" ให้กลายเป็น "ปัญญา" เพราะนอกจากจะไม่ทุกข์หรือ "ขาดทุน"แล้ว ยังได้ประโยชน์เป็น "กำไร"กลับมาด้วย

ขอให้สังเกตคำว่า "ปัญหา" กับ "ปัญญา" นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก ต่างกันแค่ตัวเดียวคือ "ห" กับ "ญ" ในชีวิตจริง สิ่งที่เรียกว่า "ปัญหา" นั้นก็อยู่ใกล้กับ "ปัญญา" มากเช่นเดียวกัน

ปัญหาสามารถก่อให้เกิดปัญญาได้หากรู้จักมองหรือใคร่ครวญกับมัน นักเรียนจะเฉลียวฉลาดได้ก็เพราะหมั่นทำการบ้าน การบ้านนั้นคืออะไรหากไม่ใช่ปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องขบคิด ถ้าครูไม่ขยันให้โจทย์หรือตั้งคำถามให้นักเรียนขบคิด นักเรียนก็ยากที่จะเกิดปัญญาได้

คนทั่วไปนั้นเมื่อเจอปัญหาก็จะเป็นทุกข์หรือกลัดกลุ้มไปกับมัน แต่ถ้าลองตั้งสติและพิจารณาให้ดี ปัญหาก็จะกลายเป็นปัญญาได้ไม่ยาก เมื่อ ๘๐ ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่งได้เพาะเลี้ยงแบคทีเรียไว้ในจานเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเรื่องไข้หวัด วันหนึ่งเขาพบว่ามีเชื้อราเข้าไปปนเปื้อนและทำลายแบคทีเรียที่เพาะเอาไว้ นั่นหมายความว่าเขาต้องเพาะแบคทีเรียขึ้นใหม่
"ปัญหา สร้างปัญญา"
เจ้าเชื้อราตัวนี้สร้างปัญหาให้นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ แต่แทนที่จะโมโห เขากลับฉุกคิดขึ้นมาว่าถ้ามันฆ่าแบคทีเรียที่เพาะในจานได้ มันก็ต้องกำจัดแบคทีเรียที่ในร่างกายคนได้เช่นกัน ปัญญาเกิดขึ้นแก่นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ทันที นำไปสู่การค้นพบเพนนิซิลินหรือยาปฏิชีวนะ ซึ่งในเวลาไม่นานสามารถช่วยชีวิตผู้คนนับร้อยล้านคนทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้คืออเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่งนั่นเอง

โลกก้าวหน้าได้เพราะเรารู้จักเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา มองให้แคบลงมา ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากประสบวิกฤต บางคนเป็นโรคหัวใจเจียนตาย ภัยร้ายได้บังคับให้เขาต้องหันมาทบทวนชีวิตของตน และพบว่าการหมกมุ่นอยู่กับตนเอง ตัดขาดจากผู้อื่น และจมอยู่กับความหดหู่เศร้าหมอง เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เขามีอาการดังกล่าว เขาจึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เข้าหาผู้คน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น และปล่อยวางความกังวลหม่นหมอง ไม่นานสุขภาพของเขาก็ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เขายอมรับว่า การเป็นโรคหัวใจเป็นสิ่งดีที่สุดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเขา

เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา แทนที่จะคร่ำครวญหรือตีอกชกหัว ลองใคร่ครวญดูให้ดี จะพบว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเอง ถ้าเรามองสัญญาณนี้ออก นั่นแสดงว่าปัญญาได้เกิดแก่เราแล้ว ขั้นต่อไปก็คือเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม หรือการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง เหมาะสม และชาญฉลาด
"ปัญหาย่อมมีทางออก"
ไม่ควรมองว่าปัญหาคือ "ทางตัน" ถ้ามองให้ดี ในตัวปัญหานั้นก็มี "ทางออก" ด้วยเหมือนกัน อย่าลืมว่า สลักที่ล็อคประตูนั้นก็เป็นสลักอันเดียวกับที่ใช้เปิดประตู สวิตช์ที่ปิดไฟก็เป็นอันเดียวกับที่ใช้เปิดไฟให้สว่าง ฉันใดก็ฉันนั้นในคำถามก็มีคำตอบเฉลยอยู่

จะว่าไปแล้วปัญหาหรือความทุกข์ทั้งหลายไม่ได้มีไว้ให้เราคร่ำครวญ แต่มีไว้ให้ใคร่ครวญนั่นเอง ในความทุกข์นั้นก็มีทางออกจากความไม่ทุกข์แฝงอยู่เสมอ ในภาพยนตร์เรื่อง Batman Begins เด็กชายบรู๊ซ (ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นมนุษย์ค้างคาว)ได้พลัดตกลงไปในหลุม เมื่อพ่อช่วยขึ้นมาแล้ว ได้ถามลูกว่า "รู้ไหมทำไมคนเราถึงหกล้ม?" ลูกนึกไม่ออก พ่อจึงเฉลยว่า "ก็เพื่อเราจะได้รู้วิธีลุกขึ้นมาไงล่ะ"

ความทุกข์มีขึ้นก็เพื่อสอนเราให้รู้จักหลุดพ้นจากความทุกข์ ปัญหาเกิดขึ้นก็เพื่อสอนเราให้เกิดปัญญา ด้วยเหตุนี้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หากคือครูที่มาสอนให้เราฉลาดขึ้นนั่นเอง

แหล่งข้อมูล : รินใจ

กระจกส่องใจ สอนอะไรคุณ..?
กระจก... ไม่เลือกที่จะสะท้อนภาพทุกชนิด ฉันใด

จิตใจ... จงเอาเยี่ยงอย่างกระจก

กระจก... รับรู้ แต่ไม่ยึดถือครอบครอง

ดังนั้น... จึงไม่มีภาพใดๆ หลงเหลืออยู่ในกระจก

สายฝน... ในกระจก หาได้เปียกกระจกไม่

เปลวไฟ... ในกระจก ก็หาได้เผาลนกระจกเช่นกัน

ทั้งนี้... เพราะกระจก ไม่ได้ให้อำนาจแก่ สายฝน และเปลวไฟ

ดังนั้น...จงทำจิตใจของท่าน ให้เป็นดุจการรับรู้ของกระจก เพราะถ้าหากจิตของท่าน หลงยึดถือหรือตกเป็นทาสของกิเลสเมื่อใด ความทุกข์ ความเศร้าหมองใจย่อมตามมา เมื่อนั้น..
ขอขอบคุณ :คำสอนดี ดี มีประโยชน์
จากหนังสือ ธรรมะกับมนุษย์