ท่านผู้ใดที่สนใจปฏิบัติธรรม แต่ยังไม่รู้ว่าจะปฏิบัติที่ไหน หรือยังตัดสินใจไม่ได้ เชิญอ่านรายละเอียดที่ดิฉันนำมาเสนอก่อนตัดสินใจได้เลยนะคะ

ปล. ส่วนต่างจังหวัดก็มีหลายที่มากๆ เลย แต่ดิฉันจะพยายามมาอัพเดตบ่อยๆ เท่าที่เวลาจะอำนวยนะคะ ^^

กรุงเทพมหานคร


วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร (วัดธรรมมงคล)
สถาบันพลังจิตตานุภาพ, ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
เลขที่ 132 ถ.สุขุมวิท ซอย 101 ตรอกปุณณวิถี 20
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 02-332-4145, โทรสาร 02-730-6335


สถาบันพลังจิตตานุภาพ โทร. 02-311-1387
ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ โทร. 02-741-7822


พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาส

วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันขึ้นกับกระทรวงวัฒนธรรม) เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2506 เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร วัดธรรมมงคลเป็นที่ตั้งของ สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) และศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ อันมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่หลักการบำเพ็ญสมาธิ ทั้งสมถะและวิปัสสนา

ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

เป็นอาคารเพื่อการบำเพ็ญสมาธิที่มีความเพียบพร้อมทุกประการ ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของวัด ในหมู่บ้านรังสิยา ใกล้พระมหาเจดีย์ฯ เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นในพื้นที่ 600 ตารางวา เพื่อช่วยให้ฆราวาสผู้มาปฏิบัติธรรม มีที่พักที่สัปปายะ ภายในมีห้องพักแบบโรงแรม 80 ห้อง จุผู้มาปฏิบัติได้ประมาณ 180 คน แบ่งห้องพักเป็นกลุ่มๆ เพื่อไม่ให้แออัดและไม่รบกวนกัน มีทั้งห้องเดียว ห้องคู่ และห้องรวมสำหรับครอบครัว ทุกห้องมีเตียง มีที่นอนสปริง หมอน ผ้าปูที่นอน ตู้เสื้อผ้า และติดเครื่องปรับอากาศ มีห้องนั่งสมาธิเป็นคณะ บริเวณจงกรม มุมหนังสือธรรมะ ห้องอาหาร ห้องบรรยาย ห้องสนทนาธรรม ห้องสุขา ห้องครัว และมีครูบาอาจารย์คอยแนะนำวิธีการบำเพ็ญสมาธิ พร้อมทั้งโปรแกรมประจำวัน

จุดประสงค์ของศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

1. ต้องการเผยแพร่สมาธิอย่างกว้างขวางแก่ทุกๆ คนให้มีความสงบและสุขใจ
2. เพื่อความสะดวกแก่ผู้ประสงค์ทำสมาธิ เพราะว่าปัจจุบันมีคนจำนวนมากต้องการจะทำสมาธิ แต่ไม่ทราบจะไปที่ไหน จะหาครูบาอาจารย์ได้อย่างไร ลำบากด้วยสถานที่ ทั้งไม่รู้จักใครบ้าง ไม่มีอิสระบ้าง เป็นต้น เมื่อมาที่ศูนย์สมาธิก็จะมีความสบายใจ
3. เพื่อพักผ่อนทางใจ เพิ่มพูนพลังจิต พร้อมเพิ่มสมรรถนะทางใจให้มีความแกร่งสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน
4. ให้บังเกิดความสุขพิเศษ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าไม่มีความสุขใดเท่าทำใจเราให้สงบสุขได้ เมื่อให้โอกาสแก่ทุกคนได้ศึกษาใจตนเองเพราะความสุขความทุกข์อยู่ที่ใจเรา

นครธรรม อันเป็นสถานที่ตั้งสถาบันการศึกษาหลักสูตรครูสมาธิ ที่มีชื่อเรียกว่า “สถาบันพลังจิตตานุภาพ” (Willpower Institute) นั้น เป็นสถานการศึกษาสมาธิที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน โดยเปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเรียนการสอนนักศึกษาจะได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมาธิเบื้องต้นตั้งแต่การเริ่มบริกรรม จนถึงสมาธิชั้นสูง ที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้เรียนรู้มาจากพระอาจารย์ใหญ่มั่น และพระอาจารย์กงมา รวมทั้ง จากประสบการณ์ในชีวิตการปฏิบัติสมาธิของท่านเองกว่า 60 ปี นอกจากผู้เรียนจะเข้าใจการทำสมาธิทั้งสมถะ-วิปัสสนา อย่างถี่ถ้วนแล้ว ยังสามารถเป็นครูสอนสมาธิให้แก่บุคคลอื่นได้อย่างถูกต้องด้วย

เมื่อมีการเรียนการสอนตามระบบของหลักสูตรดังได้กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) คือ มีทั้งอาจารย์ผู้สอน มีนักศึกษา มีอาคารสถานที่ มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบถ้วนบริบูรณ์ ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาศึกษาจะได้รับประโยชน์จากสถาบันแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งจะเป็นผลดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และก่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นแก่โลกมากยิ่งขึ้นต่อไป

นอกจากนี้แล้ว สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) ยังได้เปิดหลักสูตรใหม่ คือ “การอบรมสมาธิภาคภาษาอังกฤษ” ให้กับชาวต่างชาติ เพื่อสร้างสันติภาพและสันติสุขให้ชาวโลกโดยการปฏิบัติสมาธิ วัตถุประสงค์ของการเปิดหลักสูตรนี้เพื่อให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ที่มีความสนใจการทำสมาธิ ได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมพลังจิตและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถ่องแท้ โดยปราศจากอุปสรรคทางด้านภาษา เพื่อนำเอาไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ ทั้งในด้านการทำงานและชีวิตในครอบครัว เพราะการทำสมาธิถือเป็นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่จะทำให้จิตใจของคนเราสงบ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและมีความสุข ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้โลกก็จะสงบสุขและเกิดสันติภาพ การทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบมิได้จำกัดเฉพาะศาสนาหนึ่งศาสนาใด โปรแกรมการอบรมนี้จึงเปิดกว้างสำหรับคนทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา หรือแม้แต่คนไม่มีศาสนาก็มาเรียนได้เช่นกัน

หลวงพ่อวิริยังค์ได้เปรียบเทียบระหว่างสมาธิกับการเรียน ไว้ว่า “คนเราได้ทำสมาธิมีพลังจิตแล้ว ก็เหมือนไปเรียนหนังสือ เมื่อไปเรียนทุกวันก็จะมีความรู้ เรียนจนจบมัธยมแล้วเป็นอย่างไร ความรู้เราก็ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนเลย ทุกอย่างจึงเป็นไปอัตโนมัติ พอมาเปิดหนังสือ จับปากกาก็รู้ ก็เข้าใจ แต่คนที่ไม่ได้ไปเรียนไม่มีความรู้ เปิดหนังสือเท่าไรก็ไม่รู้ จับปากกาก็เขียนไม่ได้ การมาเรียนจึงเป็นการสะสมความรู้ เช่นเดียวกับคนที่มาเรียนสมาธิก็เป็นการสะสมพลังจิต ทำทุกวันๆ ก็เป็นการสะสมโดยไม่รู้ตัว”

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเริ่มฝึกสมาธิให้ดีต้องทำอย่างน้อย 5 นาทีต่อวัน หรือ 6 ชั่วโมงต่อเดือน จะทำให้พลังจิตดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องทำให้ติดต่อกันทุกวันจึงจะได้ผล การฝึกทำสมาธิครั้งละ 5 นาทีวันละ 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน เย็น รวมแล้วก็จะตกวันละ 15 นาที รวมทั้งเดือน 415 นาที เมื่อทำสมาธิเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรจะจดบันทึกลงในสมุดทุกครั้ง เพื่อจะได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาที่ฝึกปฏิบัติสมาธิ และนับว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการทำสมาธิเพื่อสันติภาพของโลก เพราะโลกจะสงบสุขได้ด้วยใจของคนเราที่มีเมตตาธรรม

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2553 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระธรรมมงคลญาณ

เว็บไซต์วัดธรรมมงคล
http://www.dhammamongkol.com
http://www.samathi.com
http://www.geocities.com/watdham
http://www.willpowerinstitute.com

รูปภาพ

เสถียรธรรมสถาน
เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล (รามอินทรา 55)
แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
โทรศัพท์ 02-510-6697, 02-510-4756
โทรสาร 02-519-4633


ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ คือ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

เสถียรธรรมสถาน (Sathira Dhammasathan) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพฯ สาธุชนทุกท่านสามารถเข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง

• กรณีปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง •

ลงทะเบียนเข้าที่พักช่วงบ่ายสองโมงเย็นถึงสี่โมงเย็น (14.00-16.00 น.) ของวันศุกร์ และร่วมปฏิบัติธรรมจนถึงเย็นวันอาทิตย์ ท่านสามารถ download file ระเบียบปฏิบัติ, วิถีชีวิตพักค้าง, สิ่งที่ต้องเตรียมมาและใบสมัครปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง และระเบียบการได้จากหน้าแรกของเว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน กรอกใบสมัคร เตรียมเอกสารแนบให้เรียบร้อย แล้ว FAX เอกสารเข้าไปที่เสถียรธรรม หลังจากนั้นประมาณ 15-30 นาที รบกวนโทรศัพท์ไปตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าทางเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารของคุณ และเจ้าหน้าที่หรือแม่ชีท่านใดท่านหนึ่งจะแจ้งให้ทราบว่า คุณจะได้เข้าปฏิบัติธรรมแบบพักค้างหรือไม่




การปฏิบัติธรรมอานาปานสติภาวนา นอกจากท่านผู้ปฏิบัติธรรมจะได้เรียนรู้วิธีการภาวนาแบบอานาปานสติแล้ว ตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม ท่านจะได้เรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท, อุปกิเลส 16, นิวรณ์ 5, อริยมรรค ฯลฯ ร่วมภาวนากับบทเพลง เจริญสมาธิในทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน และโยคะสมาธิ ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะร่วมสมาทานศีล 8 ในเย็นวันศุกร์และรักษาศีล 8 ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ

ศีล 8
1. เว้นจากทำลายชีวิต
2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
3. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
4. เว้นจากพูดเท็จ
5. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
8. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย

วันแรกของการเข้าอบรม
14.00 น.-16.00 น. ลงทะเบียน
16.00 น โยคะสมาธิ
17.30 น. ปฐมนิเทศและทำวัตรเย็น
19.00 น. สมาทานศีล 8/ส่งอารมณ์กรรมฐาน
21.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว


วิถีชีวิตของชุมชน
04.00 น. ระฆังแห่งสติ
05.00 น. ทำวัตรเช้า
06.00 น. ธรรมรับอรุณ โยคะ-สมาธิ
08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
09.00 น. ร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ออกอากาศสด
10.00 น. ภาวนากับบทเพลง/ธรรมบรรยาย
11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
12.00 น. ว่างอยู่ในปัจจุบันขณะ
13.30 น. สมาธิภาวนา ยืน เดิน นั่ง นอน และตอบคำถาม
16.00 น. น้ำปานะ
18.00 น. ทำวัตรเย็น
19.00 น. ธรรมบรรยาย/สมาธิภาวนา
21.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว

วันสุดท้ายของการเข้าอบรม
04.00 น. ระฆังแห่งสติ
05.00 น. ทำวัตรเช้า
06.00 น. ธรรมรับอรุณ โยคะ-สมาธิ
08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
09.00 น. ร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ออกอากาศสด
10.00 น. ภาวนากับบทเพลง/ธรรมบรรยาย
11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
12.00 น. ว่างอยู่ในปัจจุบันขณะ
13.30 น. สมาธิภาวนา ยืน เดิน นั่ง นอน และตอบคำถาม
16.00 น. จบกิจกรรมการเข้าอบรม

• กรณีปฏิบัติธรรมแบบไม่พักค้าง •

เชิญได้ทุกเสาร์-อาทิตย์ มาได้เลยไม่ต้องสมัคร โดยสามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ที่ ธรรมศาลา เพื่อร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ “สาวิกา” ออกอากาศสด โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

วิถีแห่งสติ
05.00 น. ทำวัตรเช้า ณ ห้องพระบรมสารีริกธาตุ
08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
09.00 น. วิทยุชุมชน
10.00 น. ฟังเสียงธรรมะตามสาย
11.00 น. พิจารณาอาหารเพล
18.00 น. ทำวัตรเย็นและตามประทีป ณ ห้องพระบรมสารีริกธาตุ
(ระหว่างวัน ภาวนากับการทำงานและทำความเพียรโดยส่วนตัว)

หมายเหตุ : หากท่านต้องการมาทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะในวันธรรมดา กรุณาติดต่อมาที่โทรศัพท์ 02-509-0085, 02-510-6697 กด 6 และผู้สนใจมาสนทนาธรรม สอบถามปัญหากับคณะแม่ชีเป็นการส่วนตัว เชิญได้ในวันธรรมดา เวลา 09.00-11.00 น. และ 13.30-16.00 น.

• การเดินทาง •

การเดินทาง ถ้ามาจากบางเขน มีรถเมล์จากอนุสาวรีย์ สาย ปอ. 26, ปอ.พ. 2 และ ปอ.พ. 8 มีรถเมล์จากปากเกร็ด สาย 150 มาจากบางเขน รถเมล์จะผ่านป้ายกองบินตำรวจก่อน แล้วให้ลงรถเมล์ป้ายถัดไป จะเป็นปากซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล-เพิ่มสิน ข้างๆ ร้านเซเวน-อีเลเวน-5 บาท) หรือขึ้นมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามา

ถ้ามาจากรามคำแหง มีรถเมล์จากรังสิต สาย 95, ปอ. 520 และ ปอ. 512 มาจากรามคำแหง ให้ลงป้ายแรกหลังจากที่รถเมล์ลอดใต้สะพานทางด่วน จะเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล-เพิ่มสิน ข้างๆ ร้านเซเวน-อีเลเวน-5 บาท) หรือขึ้นรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามา

สำหรับท่านที่มีรถส่วนตัว เสถียรธรรมสถาน ตั้งอยู่เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล รามอินทรา 55 สุดทางด่วนอาจณรงค์-รามอินทรา จาก ถ.รามอินทรา เข้ามาประมาณ 400 เมตร มีจุดสังเกตคือรั้วก่ออิฐสีส้ม ตรงข้ามกับร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ท่านสามารถจอดรถได้ที่ด้านหลังตลาดวัชรพล
แผนที่เสถียรธรรมสถาน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2351

สถานที่ปฏิบัติธรรม ‘เสถียรธรรมสถาน’ (วีดิโอ youtube)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=37&t=18409

เว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน
http://www.sdsweb.org/

วัดโสมนัสวิหาร (วัดโสมนัสราชวรวิหาร)
เลขที่ 646 ถนนกรุงเกษม แขวงโสมนัส
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100


พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาส

วัดโสมนัสวิหาร มีการฝึกอบรมกรรมฐาน ซึ่งดำเนินการอบรมตลอดรายการโดยพระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาส เป็นระยะเวลา ๗ วัน ทั้งนี้หลักสูตรชั้นต้นจะฝึกในกรุงเทพฯ (ที่วัด) โดยมาเช้ากลับเย็น เป็นเวลาประมาณ ๖-๗ ชั่วโมงต่อวัน (๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.) เพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ไม่อาจจะทิ้งบ้านไปค้างคืนที่วัดได้ อย่างไรก็ดี ทางวัดก็มีที่พักค้างคืนให้จำนวนหนึ่ง

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ในราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ


ผู้จะเข้าฝึกอบรมกรรมฐานในชั้นนี้ควรปฏิบัติดังนี้

๑) ทำตนให้ว่างจากการทำงาน โดยทำธุระให้เสร็จก่อนหรือเลื่อนธุระให้พ้นช่วงจะอบรม เพื่อไม่ให้กังวล

๒) ตั้งใจมาทุกวันให้ตรงเวลา อย่าขาดหรือมาสาย เพื่อไม่รบกวนผู้อื่นที่ปฏิบัติ

๓) รับประทานอาหารเช้าแต่พอประมาณ

๔) ทุกท่านต้องแต่งชุดขาวสุภาพ ไม่ควรใส่เสื้อยืด สำหรับสตรีห้ามนุ่งกระโปรงสั้นหรือกางเกง

๕) ตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ไม่คุยขณะปฏิบัติ สำรวมกาย วาจา ใจให้มาก

๖) หากมีข้อสงสัยให้เรียนถามอาจารย์ได้ตลอดเวลา

๗) ควรเตรียมตัวและใจให้พร้อมเพื่อเข้าฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง จริงจังตลอด ๗ วัน

๘) ไม่ควรใช้นาฬิกาที่มีเสียงปลุกหรือบอกนาทีและชั่วโมง เพราะจะรบกวนผู้นั่งใกล้เคียง

๙) สุภาพสตรี หากต้องการพักที่สำนักชีวัดโสมนัสวิหาร ก็ติดต่อได้ไม่เกิน ๕๐ คน โดยการบวชเนกขัมมะ
ส่วนสุภาพบุรุษถ้าต้องการพักที่วัด ก็พักได้ไม่เกิน ๑๐ คน เพราะสถานที่มีจำกัด

๑๐) ไม่ควรนำเด็กมาด้วยเพราะจะทำให้เป็นภาระ

กำหนดการฝึกอบรมประจำวัน

๙.๐๐ - ๙.๒๐ น. บูชาพระรัตนตรัย สวดมนต์และสมาทานศีล
๙.๒๐ - ๙.๕๐ น. บรรยายธรรม
๙.๕๐ - ๑๒.๐๐ น. ฝึกจิตตภาวนา (นั่งสมาธิสลับการเดินจงกรม)
๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
(มีอาหารเลี้ยงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งแบบธรรมดาและมังสวิรัติ)
๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. บรรยายธรรม
๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ฝึกจิตตภาวนา (นั่งสมาธิสลับการเดินจงกรม)
มีช่วงพักระยะเวลาประมาณ ๑๕ นาที และช่วงท้ายสุดมีการสวดอุทิศส่วนกุศลและแผ่เมตตาประจำวัน

การสมัครเข้ารับการอบรมอบรมกรรมฐาน

สมัครได้ที่วัดโสมนัสวิหาร ก่อนการอบรม ๑๕ วัน
จำนวนผู้เข้าอบรมที่รับสมัคร รุ่นละไม่เกิน ๒๕๐ คน ไม่รับผู้ที่อายุต่ำกว่า ๑๔ ปี
วันเวลาและสถานที่รับสมัคร กรุณาติดต่อที่

๑) กุฏิพระสาสนโสภณ ข้างพระอุโบสถ โทร. ๐๒-๒๘๑-๗๙๔๔
๒) สำนักชี วัดโสมนัสวิหาร โทร. ๐๒-๒๘๑-๓๐๒๔

รายละเอียดตารางอบรมกรรมฐาน
http://www.watsomanas.com/thai/samati.php

เสียงธรรมบรรยายพระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/mongkol/

เว็บไซต์วัดโสมนัสวิหาร
http://www.watsomanas.com/



วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
“ศาลาพระราชศรัทธา” ถ.พระราม 1
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02-253-8822, 02-255-2271,
02-251-6469 โทรสาร 02-255-5429
พระเทพปัญญามุนี (อมร ญาโณทโย) เจ้าอาวาส

พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส


วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแด่ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2400

วัดปทุมวนาราม ตั้งอยู่ที่ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ อยู่ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอน และห้างเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า หากเดินทางโดยรถประจำทางธรรมดา มีรถผ่าน สาย 2, 15, 16, 25, 40, 45, 48, 54, 73, 79, 204, 79 ฯลฯ หรือสามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสยาม แล้วเดินมาทางที่จะไปแยกเฉลิมเผ่า วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.00-18.00 น.




“วัดปทุมวนาราม” แดนสงบงามกลางป่าคอนกรีต
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13340

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.tv2495.com/
http://www.thavorn2495.com/
http://www.watpa.info/
http://www.watpa.us/
http://www.watthainyc.com/
http://www.thaitemplenyc.com/



วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ท่าพระจันทร์ เลขที่ 3
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02-222-6011, 02-222-4981


พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) อธิบดีสงฆ์หรือเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

-- มีการสอนการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน นั่งกรรมฐาณ เดินจงกรม
ตามแนวของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
อดีตพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย คณะ 5

-- มีการสอนการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม
ตามโครงการพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ตามแนวของคุณแม่สิริ กรินชัย

โดยมี พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) เป็นประธานจัดงาน
สำนักงานพระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) เจ้าอาวาส คณะ 1
โทรศัพท์ 02-226-4102, 02-221-1962, 081-582-8242

สำนักงานกลางกองการวิปัสสนาธุระ คณะ 5
โทรศัพท์ 02-222-4981

ประวัติและปฏิปทาพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19975

ประวัติและปฏิปทาพระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=25026

โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สังคมที่มีแต่ ‘ให้’ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19606

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อีกหนึ่งความหวังของเด็กไทย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15420

เว็บไซต์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
http://www.watmahathatu.org/



ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนานานาชาติ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ท่าพระจันทร์ เลขที่ 3
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02-222-6011, 02-222-4981
พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต)
อธิบดีสงฆ์หรือเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์รูปปัจจุบัน


สถานที่ปฏิบัติธรรมใจกลางเมือง สะดวกสบาย
พร้อมเปิดโอกาสให้สาธุชนทุกท่านสร้างบารมี

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
fb. ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนานานาชาติ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

https://www.facebook.com/meditation.retreatcenter



สวนแสงธรรม
ถ.พุทธมณฑลสาย 3 แขวงบางไผ่
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160
โทรศัพท์ 02-444-2812


“สวนแสงธรรม” เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เจริญจิตตภาวนา ณ ชานเมืองกรุงเทพมหานคร ขอเชิญสาธุชนทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนาภาคจิตตภาวนา ปฏิบัติธรรมภาวนา และถาม-ตอบปัญหาธรรม ณ กุฏิกลางน้ำ สวนแสงธรรม

การเดินทาง : หากมาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าวิ่งขึ้น “ทางคู่ขนานลอยฟ้า”
จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 3 จะสะดวกที่สุด

รถเมล์สายที่ผ่านสวนแสงธรรม : สาย 91 ก วิ่งจากอู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ผ่านศิริราช-ท่าพระ-บางแค-ถ.พุทธมณฑลสาย 3 จอดหน้าสวนแสงธรรม และสิ้นสุดที่วัดศาลาแดง

ศึกษารายละเอียดได้จากที่นี่


http://www.luangta.com/

แผนที่สวนแสงธรรม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2833

ประวัติและปฏิปทาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24738

ภาพเก่าๆ ของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ที่หาดูได้ยากมากๆ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=42605


ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ศูนย์ 1 สำนักงานใหญ่ เพชรเกษม 54
เลขที่ 58/8 หมู่ 7 เพชรเกษม 54
แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์ 02-805-0790-4, โทรสาร 02-413-1706


นายอนุรุธ ว่องวานิช นายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย จดทะเบียนเป็นยุวพุทธิกสมาคมแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2493 ในเวลาต่อมาจึงมียุวพุทธิกสมาคมจังหวัดต่างๆ เกิดขึ้น บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่ประจำ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรต่างๆ เช่น บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2509 เป็นองค์กรสาธารณกุศล ที่มีศูนย์วิปัสสนากรรมฐานเปิดให้ผู้ประชาชนทั่วไปเข้าอบรมปฏิบัติธรรมทุกเดือนตลอดปี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นเวลาร่วม 20 ปี มีหลักสูตรอบรมวิปัสสนากรรมฐานและปฏิบัติธรรมหลากหลาย ทั้งหลักสูตรระยะสั้น 1 วัน, หลักสูตร 2 วัน, หลักสูตร 3 วัน, หลักสูตร 8 วัน, หลักสูตร 15 วัน จนถึงหลักสูตร 1 เดือน และหลักสูตร 3 เดือน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเลือกเข้าอบรมปฏิบัติธรรมในโครงการต่างๆ ตาม ที่เวลาของตนจะอำนวย โดยปฏิบัติตามแนวปฏิปทาของธรรมาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย



ขั้นตอนการสมัครเข้าอบรมปฏิบัติธรรม
กับยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ


ขั้นตอน ๑ : ทำประวัติ รับ Ybat Card

ผู้สนใจจะสมัครเข้าอบรมปฏิบัติธรรม จะต้องทำทะเบียนประวัติกับสมาคมเพื่อรับบัตรประจำตัว YBAT Card ก่อน โดยดำเนินการดังนี้คือ เขียนจดหมายแจ้งความประสงค์ขอรับใบกรอกทะเบียนประวัติ และใบสมัคร พร้อมทั้งรายละเอียดโครงการ/หลักสูตร (กรุณาระบุให้ชัดเจน) พร้อมแนบซองเปล่าจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ติดสแตมป์ ๕ บาท ๑ ดวง ส่งจดมายขอเอกสารไปยัง

ฝ่ายกิจกรรม ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
๕๘/๘ ซอยเพชรเกษม ๕๔ ถ.เพชรเกษม
แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐

หรือติดต่อขอรับเอกสารด้วยตนเอง ณ ที่ทำการสมาคม
หรือดาวน์โหลดเอกสาร จากเว็บไซต์
http://www.ybat.org/

* ทำทะเบียนแล้วท่านจะได้รับ บัตร YBAT Card หรือท่านที่เป็นสมาชิกของสมาคมอยู่แล้ว จะได้รับ Ybat Member Card โปรดแสดงบัตรของท่านทุกครั้งที่ติดต่อยุวพุทธ เพื่อรับบริการที่รวดเร็ว ท่านไม่ต้องกรอกประวัติอีก ยกเว้นกรณีที่ท่านต้องการแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือที่ทำงาน

* ใบสมัครเข้ารับการอบรมสามารถถ่ายเอกสารเก็บไว้ใช้สมัครในครั้งต่อๆ ไปได้
จนกว่าสมาคมจะประกาศเปลี่ยนแบบฟอร์ม

ขั้นตอน ๒ : ส่งใบสมัคร รับใบตอบรับเข้าอบรม

* ก่อนส่งใบสมัคร โปรดตรวจสอบว่าหลักสูตรที่ท่านสนใจ มีผู้รับสมัครเต็มหรือไม่ เมื่อได้รับเอกสารแล้วให้ท่านอ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียด/ระเบียบการ ระเบียบฏิบัติและคุณสมบัติของผู้เข้าอบรมแต่ละรุ่น หากท่านมีคุณสมบัติตรงตามที่ระบุในแต่ละโครงการ และสามารถปฏิบัติตามระเบียบโครงการได้ ให้ทำดังนี้

กรอกใบสมัครให้ครบถ้วน ชัดเจน อาจจะเขียนด้วยลายมือ หรือใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ได้ ใบสมัคร ๑ ใบท่านระบุเลือกสมัครได้ ๒ หลักสูตร แต่จะได้สิทธิ์เข้าอบรมเพียงหลักสูตรเดียว กล่าวคือ สมาคมจะพิจารณาหลักสูตรแรกที่ท่านระบุ หากเต็มแล้ว สมาคมจะพิจารณาสิทธิ์ให้ท่านได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรลำดับที่ ๒ ส่งใบสมัคร และเอกสารอื่นๆ ที่โครงการระบุ พร้อมแนบสแตมป์ ๕ บาท ๑ ดวง ส่งใบสมัครไปยังสมาคมโดยทางไปรษณีย์ หรือนำส่งด้วยตัวท่านเอง ที่ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ซอยเพชรเกษม ๕๔ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น สมาคมจะให้สิทธิ์ผู้ที่ส่งเอกสารประกอบการสมัครครบถ้วน ได้เข้าอบรมก่อน

สมาคมสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับใบสมัครทางแฟกซ์
เนื่องจากเอกสารอาจสูญหายระหว่างการส่ง และเอกสารจากเครื่องแฟกซ์ไม่ชัดเจน

เมื่อสมาคมได้รับเอกสารการสมัครของท่าน สมาคมจะพิจารณาตามลำดับ หากสามารถรับท่านเข้าอบรมได้สมาคมจะส่งเอกสารใบตอบรับการสมัครถึงท่านทันที โดยทางไปรษณีย์ หากท่านไม่ได้รับการติดต่อจากสมาคมหลังจากส่งใบสมัครแล้วเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ กรุณาโทรสอบถาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรม โทรศัพท์ ๐-๐๘๐๕-๐๗๙๐-๓ ต่อ ๒๐๒-๒๐๕

สมาคมขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้สมัครแต่ละท่าน เข้าอบรมโครงการต่างๆ
ได้ไม่เกิน ๓ รุ่น ต่อปี ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสผู้อื่นได้เข้าอบรมด้วย

ขั้นตอน ๓ : ส่งยืนยันการเข้าอบรม

ผู้สมัครที่ได้รับใบตอบรับของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องส่งใบยืนยันการเข้าอบรมกลับไปยังสมาคมก่อถึงวันเข้าอบรมประมาณ ๒ สัปดาห์ (ระบุในใบตอบรับแล้วอย่างชัดเจน) เพื่อเป็นการยืนยันความประสงค์ของท่านในการเข้าอบรมรุ่นนั้นๆ หากพ้นกำหนดระยะเวลาการยืนยัน แล้วท่านไม่ทำการยืนยัน สมาคมจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ อนึ่ง ท่านไม่สามารถจะส่งผู้อื่นเข้าอบรมแทนได้ เนื่องจากแต่ละรุ่นสมาคมได้รับสมัครผู้เข้าอบรมสำรองไว้แล้ว


ขั้นตอน ๔ : ลงทะเบียนเข้าอบรม

ในวันเปิดการอบรม ให้ท่านเดินทางไปรายงานตัวตามสถานที่ ที่จัดการอบรม (ศูนย์ ๑ บางแค หรือศูนย์ ๒ ปทุมธานี) พร้อมกระเป๋าสัมภาระของท่าน เอกสารที่ต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่คือ

(๑) ใบตอบรับส่วนที่ ๑
(๒) บัตรประจำตัวประชาชน
(๓) บัตร Ybat Card หรือ บัตร Ybat Member Card

ท่านที่ไม่นำเอกสารไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จะไม่ได้รับความสะดวก หรืออาจเสียสิทธิ์ในการเข้าอบรม หากไม่นำบัตร YbatCard หรือ บัตร Ybat Member Card ไปด้วย จะต้องเสียค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ ๒๐ บาท และท่านจะเสียเวลาบ้างในระหว่างรอทำบัตร

เมื่อท่านลงทะเบียนล้ว ท่านจะได้รับป้ายชื่อ ซึ่งระบุชื่อของท่านและหมายเลขห้องพัก ให้ท่านนำสัมภาระไปเก็บในห้องพัก เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดปฏิบัติธรรมและรอสัญญาณเรียกเข้าห้องปฏิบัติธรรมเพื่อปฐมนิเทศต่อไป

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ศูนย์ปฏิบัติธรรมครบวงจร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9231

คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย ละสังขารแล้ว วันเสาร์ที่ ๓ ธ.ค. ๒๕๕๔ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40315

พระราชทานเพลิงคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย 20 พฤษภาคม 2555 http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42081

เว็บไซต์ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
http://www.ybat.org/

 แล้วจะมาอัพเพิ่มเติมให้อีกนะคะ